โรตีสายไหม กรุงเก่าของไทย อย่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา socialhobbys นั้นเต็มไปด้วยทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์ และของดีที่เป็นมรดกรสอร่อย ซึ่งตกทอดจากวันวาน ดึงดูดให้บรรดานักท่องเที่ยว

สายชิมมากมายเดินทางไปลิ้มลอง หนึ่งในนั้นเป็นของหวาน ของฝากเลื่องชื่อประจำจังหวัด นั่นคือโรตีสายไหม อะไรที่ทำให้ขนมชนิดนี้ เป็นขนมคู่เมือง ประวัติศาสตร์ราชธานีเก่าของไทย ‘มิชลิน ไกด์’ จะพาคุณไปฟังเฉลย พร้อมแนะนำพิกัดร้าน โรตีสายไหมเจ้าอร่อยเด็ด ถึงขั้นติดอยู่ในลิสต์ประจำปี 2566 ของเรา

“โรตีสายไหม”เป็นขนมของชาวไทย เชื้อสายมุสลิม ที่ทำสืบต่อกันมา ตั้งแต่คนรุ่นเก่า เอกลักษณ์ของขนมชนิดนี้ คือแผ่นแป้งนุ่มมีกลิ่นหอม นำไปม้วนห่อกินกับสายไหม เส้นยาวละเอียดที่ทำจาก น้ำตาลเคี่ยว ด้วยรสชาติหวานละมุน แถมยังละลายได้ในปาก จึงทำให้ขนมชนิดนี้ เป็นของดังขึ้นชื่อ ที่ทำขายกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกลายเป็นของฝากยอดฮิต ที่ไม่ว่าใครต่อใครมาเยี่ยม โรตีสายไหม เยือนเมืองเก่าแห่งนี้ เป็นต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไป

เปิดประวัติความเป็นมาของ “โรตีสายไหม” ขนมอร่อยคู่พระนครเก่าไทย

สันนิษฐานกันว่า โรตีสายไหมเข้ามาในประเทศไทย WBET69 โดยผู้อพยพชาวอนุทวีปอินเดีย เดิมห่อเส้นสายไหมด้วยแป้งโรตีชนิดหนา ต่อมามีชาวไทยเชื้อสายจีน ดัดแปลงประยุกต์ใช้ แป้งบางห่อสายไหมแทน จึงเกิดเป็นโรตีสายไหม แป้งบางอย่างที่เราเห็นกัน อยู่ในปัจจุบัน

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ขนมชนิดนี้ ได้รับความนิยมแพร่หลาย จนกลายเป็นของขึ้นชื่อ ประจำจังหวัดนั้น ตามบันทึกของทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่าเป็นเพราะนายบังเปีย หรือชื่อจริงคือนายซาเล็ม แสงอรุณ ชาวไทยเชื้อสายมุสลิม เป็นผู้นำเข้ามา แต่เดิมบังเปียเป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด แต่ต้องระหกระเหิน ไปอยู่ถิ่นอื่น และหาเลี้ยงชีพด้วย การทำขนม เช่น โรตีกรอบ โรตีใส่นม ต่อมาบังเปียจึงทดลองดึงน้ำตาล ฝึกฝนการทำโรตีสายไหม

ใช้เวลาอยู่นานหลายปี จนกระทั่งมีความชำนาญ และเมื่อบังเปียย้ายกลับมา ปักหลักยังบ้านเกิดก็หาเลี้ยงครอบครัว โดยการทำโรตีสายไหม ด้วยความขยันหมั่นเพียร บังเปียจึงหาทาง พัฒนารสชาติอยู่เสมอ และปรับสูตรดั้งเดิม เพิ่มรสชาติด้วยการใส่นม กะทิ งา และธัญพืช จนเป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ได้ชิม

บังเปียยังชักชวนญาติ พี่น้องให้มาร่วมทำโรตีสาย ไหมจนสามารถขยายกิจการได้อีกด้วย ทั้งยังมีคนมาฝากตัวเป็นศิษย์ ของเขาจำนวนไม่น้อย การที่บังเปียไม่หวงวิชาทำให้โรตีสายไหม กลายเป็นขนมที่แพร่หลาย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาจนถึงทุกวันนี้